PET คืออะไร?

PET คืออะไร?

PET คืออะไร?

หลายท่านยังไม่ทราบเกี่ยวกับขวดพลาสติก ที่เราเห็นกันตามท้องตลาด นั้นมีชื่อเรียกว่า Pet นั่นเองครับแต่เป็น Pet ที่ไม่ใช่สัตว์เลี้ยงอย่างแน่นอน โดยวันนี้เราจะมาพูดถึง Pet ในหัวข้อของพลาสติกบรรจุภัณฑ์ ว่ามีขั้นตอนอย่างไรก่อนจะมาเป็น Pet รวมถึงประวัติทั้งข้อดี ข้อเสียอีกด้วยครับ ซึ่งโดยปกติแล้วเราจะคุ้นชินอยู่กับพลาสติก Pet กันแทบทุกวันแบบหลีกเลี่ยงไม่ได้เลย เนื่องจาก Pet เป็นบรรจุภัณฑ์ ที่สำหรับบรรจุของเหลว ไม่ว่าจะเป็น น้ำ เครื่องดื่ม อาหาร รวมไปถึงของเหลวอื่นๆที่สามารถบรรจุลงไปได้

Pet มีชื่อเรียกเต็มว่า Polyethylene Terephthalate (พอลิเอทิลีน เทเรฟทาเลต)

Pet ผลิตมาจากมอนอเมอร์หลักสองชนิดคือ เอทิลีนไกลคอล (ethylene glycol) รวมถึง กรดเทเรฟทาลิก (terephthalic acid) หรือ กรดไดเมทิลเทเรฟทาลิก (dimethyl terephthalate) โดยมอนอเมอร์ทั้งสองชนิดนี้ ทำปฏิกิริยากันผ่านกระบวนการสังเคราะห์เพื่อสร้างให้ได้เป็นพอลิเมอร์ PET นั่นเองครับ ซึ่งการผลิตขวด Pet รวมถึง บรรจุภัณฑ์พลาสติก มีขั้นตอนดังนี้ครับ

  1. การผลิตมอนอเมอร์ เอทิลีนไกลคอล (Ethylene Glycol) ผลิตจากเอทิลีน (ethylene) โดยมีกระบวนการออกซิเดชัน (oxidation) และไฮโดรลิซิส (hydrolysis) สูตรเคมี C 2 H 6 O 2 C 2 ​ H 6 ​ O 2 ​ กรดเทเรฟทาลิก (Terephthalic Acid) ผลิตจากพาราไซลีน (para-xylene) ผ่านกระบวนการออกซิเดชัน สูตรเคมี C 8 H 6 O 4 C 8 ​ H 6 ​ O 4 ​ กรดไดเมทิลเทเรฟทาลิก (Dimethyl Terephthalate) เป็นสารประกอบเอสเทอร์ที่ได้จากกรดเทเรฟทาลิกและเมทานอล สูตรเคมี C 1 0 H 1 0 O 4 C 1 ​ 0H 1 ​ 0O 4 ​
  2. การสังเคราะห์ PET
    • ขั้นตอนที่ 2.1 การทำปฏิกิริยาเอสเทอริฟิเคชัน (Esterification Reaction) กรดเทเรฟทาลิกทำปฏิกิริยากับเอทิลีนไกลคอล เกิดเป็นเอสเทอร์ (ester) ระหว่างทั้งสองและน้ำเป็นผลพลอยได้ C 8 H 6 O 4 + C 2 H 6 O 2 → C 10 H 10 O 4 + H 2 O C 8 ​ H 6 ​ O 4 ​ +C 2 ​ H 6 ​ O 2 ​ →C 10 ​ H 10 ​ O 4 ​ +H 2 ​ O
    • ขั้นตอนที่ 2.1 การทำปฏิกิริยาโพลีกอนเดนเซชัน (Polycondensation Reaction) เอสเทอร์ที่ได้จากขั้นตอนแรกจะทำปฏิกิริยาต่อกันในสภาวะที่เหมาะสม เพื่อสร้างเป็นพอลิเมอร์ PET โดยมีการควบคุมอุณหภูมิและความดัน n ( C 10 H 10 O 4 ) → [ C 10 H 8 O 4 ] + 2 H 2 O n(C 10 ​ H 10 ​ O 4 ​ )→[C 10 ​ H 8 ​ O 4 ​ ] n ​ +2nH 2 ​ O
  3. การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สุดท้าย PET ที่ได้จะถูกแปรรูปเป็นเม็ดพลาสติก (pellets) หรือเส้นใย (fibers) ขึ้นอยู่กับการใช้งาน เม็ดพลาสติก PET สามารถนำไปขึ้นรูปเป็นขวดหรือบรรจุภัณฑ์อื่นๆ ได้ผ่านกระบวนการขึ้นรูปต่างๆ เช่น การฉีดพลาสติก (injection molding) หรือการเป่าขึ้นรูป (blow molding)

ซึ่งพลาสติก Pet นั้นถูกค้นพบพัฒนาขึ้นเมื่อปี 1940 นั่นเองครับ โดยมีนักเคมีหัวกะทิอย่าง จอห์น เร็กนัลด์ วินฟิลด์ และ เจมส์ เทนแนนต์ ดิกสัน ที่ทำงานให้กับบริษัท British Calico Printers Association เดิมทีพวกเขาเริ่มจากการสังเคราะห์ Pet จากปฏิกิริยาระหว่าง กรดเทเรฟทาลิก (terephthalic acid) กับเอทิลีนไกลคอล (ethylene glycol) ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า “polycondensation reaction” นั่นเองครับ ซึ่งหลังจากที่นักเคมีสองคนนี้ได้ทำการทดลองแล้ว ในช่วงเวลานั้นก็มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง Pet ในช่วงแรกนั้นถูกนำไปใช้หลายๆอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมสิ่งทอ ที่นำมาใช้ผลิตเส้นใยสังเคราะห์นั่นเอง หรือเรียกว่า โพลีเอสเตอร์(polyester) ต่อมาในช่วงทศวรรษที่ 1970 Plastic PET นั้นได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างเท่าตัว จึงถูกผลิตนำมาใช้ในประเภทรูปแบบ บรรจุภัณฑ์ โดยเฉพาะการใช้บรรจุน้ำดื่ม และ น้ำอัดลม จากการใส่ใส่ขวดแก้วปกติ และในยุคสมัยใหม่หลังจากนั้น ก็มีการนำมาผลิตสำหรับใช้ใส่บรรจุของเหลวจำพวก น้ำยาล้างจาน น้ำมันพืช น้ำยาสระผม กล่องอาหาร และอีกมากมายที่เรามักเห็นในชีวิตประจำวัน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะมีตราสัญลักษณ์ เลข1Pet จะมีทั้งบนฉลาก และใต้ก้นบรรจุภัณฑ์ครับ ข้อดีของ PET นอกจากใช้บรรจุของเหลวแล้ว ยังเป็นพลาสติกที่เราสามารถนำมารีไซเคิลได้อีกด้วยนะครับ โดยมีกรรมวิธีโดยใช้การบดล้าง ต่อด้วยการหลอมพลาสติก เพื่อนำกับมาสร้างพลาสติกได้ใหม่ นอกจากนี้ยังสามารถ แปรรูปเป็นสิ่งของต่างๆได้อีก เช่น เสื้อผ้าใยสังเคราะห์ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้เส้นใยสงเคราะห์ในการผลิต ซึ่งการใช้พลาสติก PET นอกจากมีข้อดี ก็ต้องมีข้อเสียตามมาด้วยเช่นกัน ถ้าหากเราทิ้งขวดพลาสติก หรือ PET นั้นลงในแม่น้ำลงคลอง หรือไม่ทิ้งในถังขยะ แน่นอนว่า Plastic pet ไม่สามารถย่อยสลายได้ด้วยตัวเอง เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดขยะแทน ซึ่งอาจกระทบต่อสัตว์ และสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นกันนะครับ

เพราะฉะนั้นเราควรใช้พลาสติกขวด Pet ให้ถูกวิธี เพื่อที่จะไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่สิ่งมีชีวิต และโลกของเรา ยกตัวอย่าง หากเรามีการใช้ขวด PET เช่นการดื่มน้ำเมื่อทานเสร็จแล้ว ให้ทิ้งลงในถังขยะที่คัดแยกให้เป็นที่ หรือนำมารีไซเคิลโดยทำเป็นอุปกณ์ของใช้ต่างๆ ก็ได้ประโยชน์ไปอีกแบบ แถมประหยัดค่าใช้จ่ายภายในบ้านได้ดีอีกด้วย เพราะหากเราใช้พลาสติกได้ถูกวิธี ก็จะได้ผลดีมากกว่าผลเสียอย่างแน่นอน ส่วนบทความหน้าจะเป็นหัวข้อใด ฝากติดตามด้วยนะครับ สำหรับบทความนี้หากเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านต้องขอบพระคุณอย่างยิ่ง ซึ่งเราจะนำสาระดีๆมาแลกเปลี่ยนกันเรื่อยๆอย่างแน่นอน

Share this post

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *